โลกแห่งจินตนาการในอดีต อย่าง รถไร้คนขับ เครื่องบินที่บินเองได้ หุ่นยนต์ช่างซ่อม และเครื่องจักรที่สามารถซ่อมบำรุงตัวเองได้ ไม่ใช่นวนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไปในทุกวันนี้ ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง มีความฉลาดเพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะเครื่องจักรกลสอนตัวเองให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและไม่ง้อมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์การแปลของกูเกิล มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดเจนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อกูเกิลเปลี่ยนอัลกอริธึมให้ซอฟต์แวร์สามารถเรียนรู้ภาษาต่างๆ อย่าง ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีนได้ด้วยตัวของมันเอง ในอุตสาหกรรมเพลงตอนนี้มีโปรแกรม “Deep Artificial Composer” ซึ่งสามารถแต่งเพลงใหม่ขึ้นมาได้เองเป็นครั้งแรก จากการถูกสอนให้รู้จักทำนอง เรียนรู้กฎการประพันธ์เพลงที่ดี และแต่งเพลงขึ้นมาเอง ขณะเดียวกันฮาร์ดแวร์ของหุ่นยนต์มีขนาดเล็กลง ยืดหยุ่นได้สูงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นผลให้ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมและได้ผลมากขึ้น
งานหลายตำแหน่งที่หลายคนคิดว่าปลอดภัยกำลังจะถูกยึดโดยเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ เว็บไซต์ มาร์เกตวอช (Market Watch) ของสำนักข่าวดาว โจนส์ เพิ่งเผยแพร่บทความเรื่อง 10 งานที่หุ่นยนต์ทำได้ดีกว่ามนุษย์ อันประกอบด้วย คนเช็คสต็อคสินค้า บาร์เทนเดอร์ ทหาร เภสัชกร เกษตรกร หน่วยกู้ระเบิด นักข่าว แม่บ้าน ผู้ช่วยทนายความ พนักงานธนาคาร รายงานของแมคคินซีย์ ระบุว่า “หลังจากที่สัญญาและโฆษณามาเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดการเรียนรู้ของเครื่องจักรก็แตะส่วนแนวตั้งของเส้นโค้งค่าเอ็กซ์ คอมพิวเตอร์กำลังเข้ามาแทนที่แรงงานมีฝีมือในด้านต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม การบิน กฎหมาย การแพทย์ และธรณีวิทยาปิโตรเลียม อีกทั้งกำลังเปลี่ยนลักษณะของงานในหลากหลายงานและอาชีพ ดีพ โนว์เลดจ์ เวนเจอร์ส บริษัทร่วมทุนในฮ่องกง ได้พัฒนาไปไกลถึงขึ้นเขียนอัลกอริธึมช่วยคณะกรรมการของบริษัทในการตัดสินใจ”
เราจะรับมือการปฏิวัติวิธีการทำงานในโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นครั้งนี้ได้อย่างไร? จากวันที่อ่อนวัยที่สุดในโรงเรียน เราได้เรียนรู้ “ฮาร์ด สกิลส์” หรือทักษะด้านความรู้ของความรู้เชิงเทคนิคและความสามารถที่เราหวังว่าจะเป็นสิ่งที่สร้างอาชีพให้กับเราในวัยผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมรถยนต์ การบินเครื่องบิน การออกแบบตึก การทำร้านอาหาร การเขียนข่าว หรือการรักษาคนไข้ เป็นต้น กระนั้น ในปัจจุบันหุ่นยนต์เอไอเรียนรู้และทำงานที่ใช้ฮาร์ดสกิลส์ได้แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นไปอีกในอนาคต
บางทีอาจยังไม่ถึงเวลาที่จะตื่นตระหนกตกใจ เพราะฮาร์ดสกิลส์หลายทักษะยังใช้ได้อยู่และมีเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่ทำได้ดี หรือบางทีอาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปสู่การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร ความพ่ายแพ้ของแชมป์หมากรุกโลก อย่าง คาสปารอฟ ต่อดีพ บลู ของไอบีเอ็ม แสดงให้เห็นถึงความสุดยอดของเครื่องจักรเหนือมนุษย์ และประสบการณ์ต่อมาได้แสดงให้เห็นว่าทีมงานของมนุษย์ที่ร่วมมือกับเครื่องจักรเอาชนะโปรแกรมหมากรุกที่ดีที่สุดได้

โชคดีที่ทักษะในการประกอบอาชีพที่เราเรียนรู้ไม่ใช่ข้อได้เปรียบข้อเดียวที่เรามีในฐานะมนุษย์ ยังมีอีกส่วนที่เครื่องจักรเอไอไม่สามารถทำแทนเราได้ นั่นคือ สิ่งที่ผมเรียกว่า “ซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์” หรือทักษะด้านสังคม เป็นทักษะที่สามารถถ่ายทอดจากอาชีพหรือทักษะทางเทคนิคหนึ่งไปสู่อีกอาชีพหรือทักษะทางเทคนิคหนึ่งได้ และปกติมีการสอนกันทางอ้อมในระบบการศึกษาที่เป็นทางการของเรา แนวคิดนี้เกิดจากการรวม “ซอฟต์ พาวเวอร์” หรืออำนาจทางสังคม ซึ่งเป็นคำศัพท์เชิงรัฐศาสตร์ และไอเดียเรื่อง “ซอฟต์ สกิลส์” หรือทักษะด้านสังคม เข้าด้วยกัน
คำว่า “ซอฟต์ พาวเวอร์” ถูกคิดขึ้นโดยนักรัฐศาสตร์ โจเซฟ เอส. เนย์ จูเนียร์ เพื่ออธิบายประเภทของอำนาจในประเทศ สำหรับเนย์ ความหมายของอำนาจโดยทั่วไป คือ “การมีอิทธิพลต่อเหนือพฤติกรรมของคนอื่นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ในแง่พฤติกรรมแล้วซอฟต์ สกิลส์เป็นอำนาจที่น่าสนใจ”[1] เขาอธิบายซอฟต์ สกิลส์ของแต่ละบุคคลว่า ขึ้นอยู่กับทักษะในเรื่อง “ความฉลาดทางอารมณ์ วิสัยทัศน์ และการสื่อสาร….”
คำว่า “ซอฟต์ สกิลส์” มีต้นกำเนิดมาจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้คำว่า ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์) และกลายเป็นคำพูดติดปากที่มีคำจำกัดความมากมายในแวดวงธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และจิตวิทยาในทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้วซอฟต์ สกิลส์แบ่งออกเป็นทักษะที่เกี่ยวกับการรับรู้และการควบคุมตัวเอง รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน
ทั้งนี้ ผมนิยาม “ซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์” ว่าเป็นเครื่องมือในการควบคุมตัวเอง สร้างคุณธรรมและคุณค่าที่ดี รวมถึงความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการสื่อสารและดึงดูดให้เพื่อนมนุษย์คนอื่นหันมาสร้างผลลัพธ์ที่มีความหมายและเป็นบวก คำจำกัดความนี้สามารถขยายและเปลี่ยนแปลงได้ตามการค้นหาความหมายของแนวคิดนี้ของเราในอนาคต รายการต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้นกว่าคำจำกัดความเพียงอย่างเดียว :
• ความฉลาดทางอารมณ์ คือความสามารถเข้าใจและควบคุมความรู้สึกของตัวเอง
• ความฉลาดทางสังคม หรือความสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
• ปฏิภาณไหวพริบ ความสามารถในการนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ปรับปรุงและแก้ปัญหาได้
• การผนึกรวมหลักการและคุณค่าเชิงบวกที่น่าดึงดูดใจเข้าไว้ด้วยกัน
• แสดงออกพฤติกรรมที่ถูกต้องและมีจริยธรรม
• การรับรู้สถานการณ์ ความสามารถในการจับคู่สิ่งที่คุณเห็นว่ากำลังเกิดขึ้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
• สติ ความสามารถในการหยุดคิดหลังจากมีการกระตุ้น ก่อนที่เราจะตอบสนองโดยอัตโนมัติ และให้ความสำคัญกับความสนใจของเราเพื่อตอบสนองอย่างรอบคอบ
• ความสามารถในการมองเห็นความเป็นจริงที่น่าพอใจ
• ความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆที่ดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
• ความสามารถในการเห็นรูปแบบและเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
• ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
• ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดความจริง จัดลำดับความสำคัญ กรองเสียงรบกวน และผลิตข้อมูลที่สั้น กระชับ น่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้งานได้จริง
• ความสามารถในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
• ความสามารถในการทำให้ผู้อื่นสนใจแนวคิดและวิสัยทัศน์ของคุณได้
• ความสามารถในการเล่าเรื่องได้อย่างมีเสน่ห์และจูงใจให้สื่อสารด้วยอำนาจที่น่าเชื่อถือและแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่
• ความสามารถในการกระตุ้นให้ตัวเองและคนอื่นลงมือทำสิ่งดีๆ
• ความสามารถในการประเมินจุดแข็งของคนอื่นและจัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน
• ความสามารถในการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
• สุภาพ
• มีชั้นเชิง
• อารมณ์ดี
• ทำงานเป็นทีมได้
• ความสามารถในการเจรจาต่อรอง
ทักษะเหล่านี้ทั้งหมดสามารถนำมาใช้กับผู้นำและคนอื่นๆอีกมากมายได้ การเรียนรู้ซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์ นอกจากปรับปรุงชีวิตเราแล้วยังเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราให้ดีขึ้นด้วย ทักษะเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ เหมือนวิชาสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ชีววิทยา และจิตวิทยา ซึ่งมีความก้าวหน้าที่ช่วยให้เราเข้าใจวิธีเรียนรู้และการใช้ทักษะ อันดามัน อินสไปเรชั่นส์ ให้ความสำคัญกับการช่วยให้ผู้อ่านพัฒนาซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์ การกรองเสียงรบกวนและข้อมูลที่มีมากเกินไปให้เหลือเพียงข้อมูลที่กระชับและนำไปใช้งานได้จริง ผมหวังว่าจะกระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดการพูดคุยที่นำไปสู่การพบปะและชนะการปฏิวัติที่รออยู่ข้างหน้า
[1] Nye, Joseph S., Jr., Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: PublicAffairs, 2004, p. 2.
Copyright © 2017 by Robert Cummings All rights reserved.