คือ ส่วนท้าทาย และส่วนสนับสนุน บริษัทเจนเนอรัล อีเล็กทริค (จีอี)เป็นผู้บุกเบิกการตั้งเป้าหมายในช่วงทศวรรษ 1940 โดยพนักงานของบริษัทเป็นคนกำหนดเป้าหมายของตัวเองที่มีความเฉพาะเจาะจง,วัดผลได้, ทำได้จริง, ความเกี่ยวข้อง, และมีขอบเขตเรื่องเวลา (SMART Goal) ซึ่งเป็นเหมือนสัญญาในการทำงาน ส่วนใหญ่ผลการทำงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่บางกรณีอาจมีการตั้งเป้าหมายที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มองการณ์ไกล ซึ่งกรณีนี้อาจเข้าเกณฑ์การตั้งเป้าหมายแบบ SMART แต่ไม่เอื้อกับการแข่งขันของบริษัท ดังนั้น จีอีจึงได้พัฒนาแนวคิดเรื่องการระดมสมองเพื่อ “เป้าหมายที่ท้าทาย” (Stretch Goal) ซึ่งไม่ได้เน้นการเป็นเป้าหมายที่ทำสำเร็จได้ง่าย แต่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจเรื่องนวัตกรรมและความหมาย เป้าหมายที่ท้าทายของคุณควรเริ่มจากเป้าหมายระยะยาว ที่ครอบคลุมไปถึงเป้าหมายและหลักการใช้ชีวิต จากมุมมองกว้างๆนี้ คุณสามารถที่จะมองให้แคบลงแต่โฟกัสไปที่เป้าเท่านั้น โดยทำไปทีละขั้นๆ จนเป็นเป้าหมาย SMART ที่เฉพาะเจาะจง และสามารถนำไปใช้จัดการชีวิตประจำวันได้ ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายของอีลอน มัสก์ที่ รู้กันอยู่แล้วว่า เขาต้องการไปดาวอังคาร ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายของเขา ที่ค่อยๆเพิ่มความเป็นไปได้โดยใช้เป้าหมาย SMART ในการพัฒนาจรวด Achieve your goals @ Soft Power Skills Academy-an online professionally-guided team workshop using practical projects to put leadership principles into action. #SoftPowerSkills #Nspyr
Tag: ทักษะด้านความรู้
การปฏิวัติของหุ่นยนต์ได้เริ่มขึ้นแล้ว! คำถามคือความรู้และทักษะต่างๆที่เราเรียนรู้จากโรงเรียนจะยังสามารถสร้างรายได้เลี้ยงชีพให้กับเราได้อยู่หรือไม่? แต่ไม่ต้องตื่นตระหนกไป ข่าวดี…เราจะยังสามารถพัฒนาความได้เปรียบของเราได้ อาทิ ซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์ หรือทักษะด้านสังคม เป็นต้น อ่านต่อไปเพื่อค้นหาว่าทักษะอะไรที่พาคุณผ่านพ้นการปฏิวัติครั้งนี้ได้